top of page
Acerca de
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า หรือ AZD1222 เป็นวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่คิดค้นโดยบริษัท แอสตราเซนเนก้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด (University of Oxford) วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนชนิดที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinarat viral vector vaccine) วัคซีนกลุ่มนี้ใช้ไวรัสที่สามารถตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ไวรัสอะดีโน (Adenovirus) โดยนำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ และใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) เข้าไปเมื่อนําวัคซีนฉีดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ไวรัสพาหะเหล่านี้จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งระบบให้สร้างแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ตามสารพันธุกรรมที่ใส่เข้าไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่ไวรัสอะดีโนไม่แบ่งตัว แต่ยังจัดเป็นไวรัสที่มีชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นอย่างมาก
posterโปรโมทเว็บ copy
1/7
ปัจจุบันมี 4 บริษัท ที่ใช้เทคโนโลยีชนิดที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinarat viral vector vaccine) ในการทำวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ได้แก่ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า โดยใช้ไวรัสอะดีโนของชิมแพนซี (Chimpanzee adenovirus) เป็นพาหะ ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันประมาณร้อยละ 70 ถึง ร้อยละ 80 และสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ประมาณร้อยละ 100 บริษัท CanSinoBio โดยใช้ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 (Human adenovirus type 5) เป็นพาหะ ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันประมาณร้อยละ 60, บริษัท Johnson and Johnson โดยใช้ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 26 (Human adenovirus type 26) เป็นพาหะ ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันประมาณร้อยละ 64 ถึง ร้อยละ 72 และบริษัท Gamaleya ของสหพันธรัฐรัสเซีย โดยใช้ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 และ 26 (Human adenovirus type 5 and26) เป็นพาหะ ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันประมาณร้อยละ 90 ทั้งนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ได้กระจายฐานผลิตไปยังโรงงานต่างๆ ที่ได้รับมาตรฐานทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัท Siam Bioscience ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน ภายใต้มาตรฐาน Good Manufacturing Practice (GMP), มาตราฐานระบบบริหารงานคุณภาพ, มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 (ISO/IEC 17025) และระบบการบริหารจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เพื่อเป็นฐานการผลิตในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะกรรมการร่วมว่าด้วยการฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Joint Committee on Vaccination and
Immunisation หรือ JCVI)กล่าวว่า ควรให้ผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 ปี ถึง 39 ปี เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาของบริษัทอื่นแทนบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เนื่องจากวัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดลิ่มเลือดอุดตันชนิดหายาก และมีลักษณะพิเศษที่ทำให้มีระดับเกล็ดเลือดในเลือดต่ำ ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในคนที่มีอายุระหว่าง 40 ปี ถึง 49 ปี อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 100,000 คน แต่ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มเป็น 1 ใน 60,000 คน ในคนที่มีอายุระหว่าง 30 ปี ถึง 39 ปี และเมื่อต้นเดือนเมษายน พุทธศักราช 2564 ทางหน่วยงานภาครัฐของประเทศสหราชอาณาจักรได้ประกาศให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี รับวัคซีนของบริษัทอื่นแทนวัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ด้วยเหตุผลที่บอกว่า ในจำนวนของผู้ที่เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้าทั้งหมด มีผู้ที่ฉีดวัคซีน 79 คนเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และในจำนวนนี้เสียชีวิต 19 คน ทั้งนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
กระบวนการทำงานของวัคซีนคือต้องกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งมีตั้งแต่ผลข้างเคียงรุนแรงที่พบได้น้อย และไม่รุนแรงที่พบได้มาก นอกจากนี้ผลข้างเคียงยังมีโอกาสพบได้มากขึ้นสำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี
วัคซีนป้องกันโรคโคโรนา (Covid-19) ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติการใช้ในกรณีฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และยังได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินกว่า 70 ประเทศ ครอบคลุมทั้งหมด 6 ทวีปทั่วโลก
bottom of page